คุณเคยรู้สึกไหมว่า ทำไมไอเดียที่ยอดเยี่ยมจากทีมงานของคุณถูกละเลยจากผู้บริหาร หรือไม่สามารถนำไปพัฒนาต่อได้? ทำไมบางองค์กรถึงสามารถนำไอเดียใหม่ ๆ มาสร้างความสำเร็จได้อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่บางองค์กรกลับเผชิญกับความล้มเหลวในการขับเคลื่อนนวัตกรรม? นี่คือคำถามที่ผู้นำและผู้บริหารทั่วโลกต้องการคำตอบ นวัตกรรมเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนธุรกิจ แต่ทำไมบางครั้งความคิดที่ยอดเยี่ยมของพนักงานถึงไม่สามารถเติบโตได้?
การผลักดันนวัตกรรมภายในองค์กรถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่นำไปสู่ความยั่งยืนและความสำเร็จในระยะยาว องค์กรที่สามารถส่งเสริมนวัตกรรมได้ดีจะมีความสามารถในการแข่งขันที่สูงและปรับตัวได้อย่างรวดเร็วต่อความเปลี่ยนแปลงของตลาด อย่างไรก็ตาม ในหลายองค์กรพบว่าไอเดียที่เกิดจากพนักงานมักไม่ได้รับการนำไปต่อยอดหรือพัฒนา ซึ่งอาจเกิดจากโครงสร้างการจัดการที่ไม่ชัดเจนหรือการตัดสินใจที่ไม่แน่นอน ส่งผลให้ไอเดียที่มีศักยภาพถูกละเลย พนักงานสูญเสียแรงจูงใจในการทำงาน ซึ่งท้ายที่สุดแล้วก็จะทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กรลดลง
เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้และผลักดันให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง องค์กรสามารถใช้เฟรมเวิร์กการประเมินนวัตกรรม D-V-F Framework (Desirability, Viability, Feasibility) ซึ่งจะกล่าวถึงในบทความนี้ พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาที่ผู้นำอาจสร้างขึ้นโดยไม่รู้ตัว รวมถึงแนวทางฟื้นฟูแรงจูงใจของพนักงานที่ลดลง
ปัญหาที่ผู้นำสร้างขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ
ผู้นำหลายคนอาจมีความตั้งใจที่ดีในการสนับสนุนนวัตกรรม แต่การขาดความชัดเจนในกระบวนการจัดการนวัตกรรม ซึ่งมักเป็นอุปสรรคที่ผู้นำไม่ทันสังเกตเห็น ความไม่ชัดเจนนี้สามารถทำให้โครงการดี ๆ หยุดชะงัก ทำให้สูญเสียโอกาสในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร ซึ่งสามารถจำแนกปัญหาต่างๆได้ดังนี้:
1. ขาดความชัดเจนด้านกลยุทธ์
แม้ว่าหลายองค์กรจะมีแผนการส่งเสริมนวัตกรรมที่ดี แต่หากกลยุทธ์เหล่านั้นไม่เชื่อมโยงกับเป้าหมายธุรกิจหลัก ก็จะทำให้ไอเดียที่เกิดขึ้นไม่ถูกนำไปปฏิบัติจริง งานวิจัยของ Kaplan และ Norton (2021) ได้เสนอแนวคิดเรื่อง Balanced Scorecard หรือ BSC ใน Harvard Business Review ซึ่งเน้นถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงกลยุทธ์กับการดำเนินงานในทุกระดับขององค์กร เพื่อให้แน่ใจว่าไอเดียที่เกิดขึ้นจะช่วยผลักดันองค์กรไปในทิศทางที่ถูกต้องและมีกลยุทธ์
2. โครงสร้างการบริหารนวัตกรรมที่ไม่ชัดเจน
องค์กรที่ไม่มีโครงสร้างการจัดการนวัตกรรมอย่างชัดเจนมักจะประสบปัญหาเรื่องความสับสนในหน้าที่ความรับผิดชอบ ทำให้ไม่มีใครรู้ว่าต้องทำอะไรต่อเมื่อได้รับไอเดียใหม่ ๆ ซึ่งจากงานวิจัยเรื่ององค์กรทวิวิถี หรือ “Ambidextrous Organization” ของ Tushman และ O'Reilly (2022) ชี้ให้เห็นว่าโครงสร้างองค์กรที่ยืดหยุ่นและชัดเจนเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จในการจัดการนวัตกรรม ยกตัวอย่างเช่น การมีผู้สนับสนุนโครงการนวัตกรรม (Innovation Project Sponsor) ที่เปรียบเสมือนเป็นผู้ดูแลโครงการนวัตกรรมต่างๆของพนักงานในองค์กร อีกทั้งยังเป็นผู้ที่สื่อสารโครงการนวัตกรรมกับผู้บริหารเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมให้เกิดขึ้นจริง
3. การตัดสินใจล่าช้า
การประเมินผลและการตัดสินใจที่ล่าช้าทำให้นวัตกรรมหยุดชะงัก โดยเฉพาะเมื่อองค์กรมีขั้นตอนที่ซับซ้อนมากเกินไป Eisenhardt (2023) แสดงให้เห็นว่า ความเร็วในการตัดสินใจเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้นวัตกรรมสามารถพัฒนาและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น องค์กรที่สามารถตัดสินใจได้รวดเร็วจะมีความสามารถในการแข่งขันสูงกว่าองค์กรที่ใช้เวลาในการตัดสินใจมากเกินไป
วิธีแก้ไขและฟื้นฟูความกระตือรือร้นของพนักงาน
นอกจากการแก้ไขปัญหาที่ผู้นำสร้างขึ้นโดยไม่ตั้งใจแล้ว การฟื้นฟูความกระตือรือร้นของพนักงานก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนนวัตกรรมได้อย่างต่อเนื่อง การสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ต้องอาศัยความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้นำและทีมงาน การตั้งกรอบเวลาที่ชัดเจน และการสื่อสารอย่างเปิดเผย ซึ่งสามารถทำได้ผ่านวิธีการต่อไปนี้:
1. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างทีม
ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้นำและทีมเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างแรงจูงใจ Edmondson (2023)โดยองค์กรที่ให้ความสำคัญของการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมการเปิดรับความคิดเห็นและความคิดสร้างสรรค์ จะส่งผลให้พนักงานที่มีไอเดียใหม่ๆรู้สึกว่าความคิดของพวกเขามีค่า ทำให้แรงจูงใจในการเสนอไอเดียใหม่ ๆ มีมากขึ้นและนำไปสู่การขับเคลื่อนองค์กรในระยะยาวได้
2. ปรับนวัตกรรมให้สอดคล้องกับกลยุทธ์หลักของธุรกิจ
การที่องค์กรมีระบบการประเมินว่าโครงการนวัตกรรมนั้นสอดคล้องกับเป้าหมายทางกลยุทธ์ขององค์กรหรือไม่ จะช่วยให้พนักงานที่เป็นทีมทำงานนวัตกรรมมีความกระตือรือร้นมากขึ้น Porter (2021) ซึ่งความสำคัญของการปรับกลยุทธ์นวัตกรรมให้ตรงกับเป้าหมายหลักขององค์กร จะช่วยให้ทุกๆฝ่ายเข้าใจตรงกันว่า นวัตกรรมนั้นจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้อย่างถูกทิศทาง
3. กำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจน
การตั้งกรอบเวลาที่แน่นอน เช่น ระยะเวลา 3 เดือน จะช่วยให้ทีมมีความกระตือรือร้นและรู้สึกถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาไอเดีย นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันไม่ให้โครงการนวัตกรรมหยุดชะงัก
4. จัดการประชุมเป็นประจำ
การจัดการประชุมอย่างสม่ำเสมอเพื่อทบทวนความคืบหน้าของโครงการนวัตกรรมช่วยให้ทีมมีโอกาสปรับปรุงหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันที ทำให้โครงการสามารถดำเนินการไปได้อย่างต่อเนื่องและไม่เกิดความล่าช้า
5. ตัดสินใจอย่างเด็ดขาด
เมื่อถึงเวลาตัดสินใจ ผู้นำควรตัดสินใจอย่างชัดเจนและรวดเร็ว เพื่อป้องกันความไม่แน่นอนที่อาจส่งผลต่อความก้าวหน้าของโครงการนวัตกรรม ซึ่งความไม่แน่นอนในกระบวนการตัดสินใจมักเป็นปัญหาหลักที่ทำให้ไอเดียหยุดชะงัก ดังนั้นการตัดสินใจอย่างเด็ดขาดจึงเป็นสิ่งจำเป็น
รู้จัก D-V-F Framework: เฟรมเวิร์กการประเมินนวัตกรรมระดับโลก
การประเมินนวัตกรรมเป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถตัดสินใจได้ว่าควรลงทุนในไอเดียใด อีกทั้งประเมินว่านวัตกรรมเหล่านี้จะมีโอกาสประสบความสำเร็จหรือไม่ โดยการประเมินไอเดียต้องอาศัยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ หนึ่งในเครื่องมือที่ได้รับความนิยมคือ D-V-F Framework (Desirability, Viability, Feasibility) ซึ่งพัฒนาโดย IDEO บริษัทผู้นำด้านนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ระดับโลก
เฟรมเวิร์ก D-V-F นี้ถูกออกแบบมาเพื่อประเมินนวัตกรรมอย่างรอบด้าน ซึ่งจะเน้นใน 3 ประเด็นหลัก คือ ความต้องการของลูกค้า (Desirability), ความเป็นไปได้ทางการเงิน (Viability), และ ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ (Feasibility) เพื่อช่วยให้องค์กรมั่นใจว่านวัตกรรมที่พัฒนาจะสามารถตอบโจทย์ทางธุรกิจและสร้างผลกระทบที่เป็นบวกได้ในระยะยาว
เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น เราจะใช้ตัวอย่างของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น น้ำผลไม้ที่ดื่มแล้วหลับง่าย (Sleep-Well Juice) มาพิจารณาภายใต้ D-V-F Framework ดังนี้
1. Desirability (ความต้องการ)
Desirability หรือความต้องการ หมายถึง การพิจารณาว่าไอเดียหรือโครงการนวัตกรรมนั้นตอบสนองต่อความต้องการของตลาดและลูกค้าหรือไม่
ตัวอย่างเช่น เมื่อพนักงานมีไอเดียใหม่ในการผลิต ‘น้ำผลไม้ที่ดื่มแล้วหลับง่าย’ ชื่อว่า Sleep-Well Juice สิ่งแรกที่ควรทำคือ การประเมินความต้องการของตลาดและลูกค้า โดยทีมจะต้องหาข้อมูลก่อนว่าสินค้านี้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคหรือไม่ ปัญหาการนอนไม่หลับเป็นปัญหาที่คนจำนวนมากเผชิญหรือไม่ และลูกค้ายินดีที่จะใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือเครื่องดื่มเพื่อแก้ปัญหานี้หรือเปล่า ซึ่งอาจหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์ แบบสอบถาม หรือข้อมูลเชิงวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจตลาดและวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค เช่น รายงานทางการแพทย์ที่ชี้ให้เห็นถึงความต้องการในผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในเรื่องของการนอนหลับ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้องค์กรรู้ว่าผลิตภัณฑ์ ‘น้ำผลไม้ที่ดื่มแล้วหลับง่าย’ ตรงกับความต้องการของตลาดหรือไม่
หากผลการวิจัยชี้ว่าผู้คนจำนวนมากมีปัญหานอนไม่หลับ และต้องการทางเลือกที่มาจากธรรมชาติแทนการใช้ยานอนหลับ น้ำผลไม้ Sleep-Well Juice จึงมีความเป็นไปได้ที่จะตอบโจทย์ความต้องการของตลาด และสามารถไปต่อได้ในขั้นตอนต่อไป
2. Viability (ความเป็นไปได้ทางการเงิน)
Viability หรือความเป็นไปได้ทางการเงิน หมายถึง การประเมินว่าไอเดียนั้นสามารถสร้างรายได้หรือผลตอบแทนที่คุ้มค่าหรือไม่
ตัวอย่างเช่น หลังจากที่ตรวจสอบแล้วว่า ‘น้ำผลไม้ที่ดื่มแล้วหลับง่าย’ เป็นผลิตภัณฑ์มีความต้องการในตลาด องค์กรต้องพิจารณาว่า Sleep-Well Juice นี้จะสามารถสร้างรายได้อย่างยั่งยืนหรือไม่ การวิเคราะห์ต้นทุนในการผลิต เช่น วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำผลไม้ที่มีสารธรรมชาติช่วยการนอนหลับ ต้นทุนในการขนส่ง การจัดจำหน่าย และการทำการตลาด จะช่วยให้องค์กรรู้ว่าราคาขายของผลิตภัณฑ์จะต้องตั้งไว้เท่าใด
โดยการสร้างโมเดลธุรกิจที่ชัดเจนเป็นสิ่งสำคัญในการประเมิน Viability องค์กรต้องพิจารณาว่าผลิตภัณฑ์สามารถสร้างกำไรได้ในระยะยาวหรือไม่ เช่น หากราคาขายของ Sleep-Well Juice สูงเกินไปจนไม่สามารถแข่งขันได้ในตลาด หรือหากการลงทุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มีต้นทุนสูงมากจนไม่สามารถคืนทุนได้ในระยะเวลาอันสั้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้นอาจไม่เหมาะสม แต่หากต้นทุนอยู่ในระดับที่สามารถรับได้และคาดว่าผลิตภัณฑ์จะมีตลาดใหญ่ การพัฒนา Sleep-Well Juice ก็มีความคุ้มค่า และสามารถไปต่อได้ในขั้นตอนต่อไป
3. Feasibility (ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ)
Feasibility หรือความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ หมายถึง การพิจารณาว่าไอเดียสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงหรือไม่ โดยองค์กรต้องตรวจสอบว่ามีทรัพยากร เทคโนโลยี และบุคลากรที่เหมาะสมในการพัฒนาและสนับสนุนไอเดียนั้นให้สำเร็จหรือไม่
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อองค์กรตัดสินใจที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ Sleep-Well Juice สิ่งที่ต้องพิจารณาต่อมาคือการมีทรัพยากรที่พร้อมในการผลิต เช่น การจัดหาสารธรรมชาติที่มีคุณสมบัติช่วยการนอนหลับ หรือการพัฒนาโรงงานที่สามารถผลิตน้ำผลไม้ในปริมาณมากได้ นอกจากนี้ องค์กรต้องมีบุคลากรที่เชี่ยวชาญในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิต และการจัดการการขนส่ง หากองค์กรขาดความพร้อมในด้านนี้ การนำไอเดียไปปฏิบัติอาจไม่สามารถทำได้สำเร็จ
ในขั้นตอนนี้ ผู้นำองค์กรต้องประเมินถึงความท้าทาย เช่น ความพร้อมในการผลิตขนาดใหญ่ ความสามารถในการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั่วประเทศหรือในระดับสากล หากองค์กรมีทรัพยากรเพียงพอและมีบุคลากรที่เหมาะสม Sleep-Well Juice ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะประสบความสำเร็จในการพัฒนา
การเชื่อมโยงทั้งสามองค์ประกอบเพื่อความสำเร็จ
D-V-F Framework ช่วยให้องค์กรสามารถเชื่อมโยงสามองค์ประกอบหลักนี้เข้าด้วยกันเพื่อประเมินว่าไอเดียหรือนวัตกรรมนั้นควรได้รับการพัฒนาต่อไปหรือไม่ เช่น ในกรณีของ Sleep-Well Juice หากผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า (Desirability) สามารถสร้างรายได้และมีความคุ้มค่าในการลงทุน (Viability) และองค์กรมีทรัพยากรและความสามารถในการผลิตและจัดจำหน่าย (Feasibility) ไอเดียนี้จึงควรถูกพัฒนาและนำเข้าสู่ตลาด
การพิจารณา Desirability, Viability, และ Feasibility พร้อมกันจะช่วยลดความเสี่ยงที่ไอเดียจะไม่ประสบความสำเร็จ และทำให้องค์กรสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทสรุป
การใช้ D-V-F Framework เป็นเครื่องมือในการประเมินนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ ช่วยให้ผู้นำองค์กรสามารถตัดสินใจลงทุนในไอเดียที่มีศักยภาพและสามารถตอบโจทย์ทั้งในด้านของลูกค้า การเงิน และความเป็นไปได้ในการดำเนินงาน ตัวอย่างเช่น Sleep-Well Juice เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าเมื่อองค์กรประเมินไอเดียผ่าน D-V-F Framework แล้ว จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมีโอกาสประสบความสำเร็จในตลาดและสามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจได้อย่างแท้จริง
อ้างอิง
Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (2021). The Balanced Scorecard: Translating Strategy into Action. Harvard Business Review Press.
Tushman, M. L., & O'Reilly, C. A. (2022). Organizational Ambidexterity: Exploring the New Frontier. Harvard Business Review.
Eisenhardt, K. M. (2023). How Management Teams Can Have a Good Decision-Making Process. Stanford University Press.
Edmondson, A. C. (2023). The Fearless Organization: Creating Psychological Safety in the Workplace for Learning, Innovation, and Growth. Wiley.
Get your style on point with ApparelnBags' rich collection of Hanes women's beefy t-shirts. Whether going for a relaxed look or dressing up for a night out, these tees have your back. With a range of colors to choose from, you can mix and match these Hanes beefy t-shirts to create endless outfit possibilities. However, apart from Hanes beefy shirts, we also offer a variety of Hanes clothing, including Hanes t-shirts, Hanes tank tops, and Hanes sweatshirts & hoodies to let you find everything you need in one place. So, browse our Hanes women's beefy t-shirts collection now and shop these must-haves today to make a fashion statement that's uniquely yours!